วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

กรอบความคิด และขอบเขตของการศึกษา

เมื่อผู้วิัจัยได้เลือกหัวข้อ กำหนดคำถามการวิจัย และอธิบายถึงความสำคัญของปัญหา และประโยชน์หรือคุณค่า (merit) ที่พึงได้จากการทำวิจัยในเรื่องดังกล่าวแล้ว ลำดับต่อไป นักวิจัยจะกำหนดหรือเลือก concepts ที่จะนำมาใช้ในการศึกษา กระบวนการดังกล่าวเรียกว่าการสร้างกรอบความคิดเชิงทฤษฎี (theoretical framework) เมื่อนำไปประกอบกับการทบทวนวรรณกรรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการหัวข้อวิจัย เพื่อสำรวจหาความรู้ที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับหัวข้อ รวมไปถึงการสร้างมโนทัศน์ (conceptualization) เพื่อให้นิยามคำศัพท์เฉพาะของการวิจัยว่ามีความหมายว่าอย่างไร (ในกรณีที่เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ นิยมเรียกว่า การกำหนด นิยามเชิงปฏิบัติการ [operational definition])แล้ว นักวิจัยก็จะมี กรอบความคิดในการวิจัย (conceptual framework/research framework)
(กรอบความคิดการวิจัยไม่จำเป็นจะต้องนำเสนอในรูปกราฟฟิค แต่สามารถเขียนบรรยายเป็นร้อยแก้วได้, การนำเสนอในรูปกราฟฟิค บางครั้งทำให้ผู้อ่านสันสนและงุนงงมากกว่าจะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจที่กระจ่างชัด)

เมื่อได้กรอบความคิดแล้ว นักวิจัยก็จะสามารถกำหนดขอบเขตของการวิจัยได้ ขอบเขตของการวิจัยคือการ Limit คำถามการวิัจัยให้ชัดเจนว่า เราจะศึกษากับใคร(ประชากร) ในประเด็นอะไรโดยใช้มโนทัศน์ใด และีจะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร

เมื่อเราวางเค้าโครงต่างๆ ได้เรียบร้อย ก็เรียกได้ว่า เรามี concept paper ในการวิจัย ขั้นตอนต่อไป ก็คือ การเลือกวิธีการเก็บข้อมูลให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหา และคำถามวิจัย รวมไปถึงกระบวนทัศน์ในการสร้างความรู้ กระบวนการดังกล่าวทั้งหมดที่กล่าวมาเรียกว่า การออกแบบการวิัจัย

คำถามสำคัญซึ่งเราควรจะตอบในการออกแบบงานวิจัย (เิชิงคุณภาพ) ได้แก่

หัวข้อ
: เราสนใจปรากฏการณ์(ทางสังคม)เรื่องอะไร? เรื่่องอะไรที่เราต้องการใช้การวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา?

คำถามวิจัย: ในหัวข้อวิจัยที่เราสนใจนั้นยังไม่มีความรู้ในเรื่องใด ? และเราควรจะต้องมีความรู้ในเรื่องใด?

ความสำคัญ: ทำไมเราจึงต้องทำวิจัยเรื่องนี้? คุณค่าของการวิจัยนี้เป็นอย่างไร? คำตอบจากวิจัยจะเกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ/สังคมอย่างไร?

วัตถุประสงค์: ในการค้นหาคำตอบที่เราสนใจใคร่รู้นั้น เราจะต้องทำอะไรบ้าง?

กรอบความคิด: เราจะใช้ concept อะไรบ้างในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เราจะศึกษา?

การทบทวนวรรณกรรม:
ในหัวข้อวิจัยของเรานั้น คนอื่นๆ เสนอ argument ต่างๆ ไว้อย่างไรบ้าง? น่าเชื่อถือเพียงใด? สังเคราะห์ได้ว่า......?

ขอบเขตของการศึกษา:
เราจะศึกษาในประเด็นใดบ้าง? กับใคร? จะใช้ concept อะไรในการวิเคราะห์ข้อมูล? และใช้อย่างไร?

วิธีการศึกษา: เราจะทำวิจัยอย่างไร? ทำไมเราถึงเลือใช้วิธีการนี้ในการค้นหาคำตอบของเรา? เราใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลอะไรบ้าง? ทำไมถึงเลือกเทคนิคเหล่านั้น และไม่เลือกใช้วิธีอื่น

คำถามหนึ่งซึ่งมักจะเกิดขึ้นในระหว่างการออกแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพ ก็คือ จำเป็นจะต้องมี สมมติฐาน (hypothesis) หรือไม่? สมมติฐานตามความหมายของ David Silverman(2000:78) หมายถึง ประพจน์/ข้อความที่จะถูกตรวจสอบในงานวิจัย ในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น สมมติฐานไม่จำเป็นต้องมีตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการวิจัย แต่อาจจะถุกสร้างขึ้นในระยะต้นๆ ของการดำเนินการวิจัย ซึ่งการประเมินสมมติฐานนั้นจะให้ความสำคัญที่ความตรง หรือความถูกต้อง (valid or truth) ของสมมติฐาน

อ้างอิง
Siverman, David. 2000. Doing Qualitative Research a practical handbook. Sage.

4 ความคิดเห็น:

  1. เข้ามาตามข้อมูลต่อ ^^
    ตอนนี้อั๊ตยังก๊งอยู่ครับ
    ขออ่านก่อนดีกว่า :D
    ยังไม่รู้จะแสดงความเห็นอะไร

    ตอบลบ
  2. ประชากรที่ศึกษา มีข้อกำหนดหรือจำกัดหรือป่าวคะ ว่ามากน้อยแค่ไหน 1 คน 2 คน หรือ 100 คน

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ12/19/2551

    ประชากรศึกษาหมายถึง จำนวนคนทั้งหมดที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการวิจัย เช่น โครงการยุวประวัติศาสตร์ ประชากรคือ นักเรียนม.ปลายทุกคน ในจังหวัด นครปฐม

    ประชากรจะมาคู่กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นคนที่อยู่ในกลุ่มประชาชนที่เราเลือกมาเป็นตัวแทนเพื่อศึกษา

    ประชากรไม่มีข้อจำกัด แต่การเลือกกลุ่มตัวอย่างมีหลักการ ข้อกำหนด ว่า ถ้าประชากรเท่านี้ กลุ่มควรจะเป็นเท่าไร เพื่อให้งานวิจัยน่าเชื่อถือ มันจะมีสูตรอยู่สามารถหาอ่านได้จากตำราทั่วไป.
    การเลือกกลุ่มตัวอย่างต้องเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร การสุ่มตัวอย่างนั้น มีตั้งแต่การสุ่มอย่างง่าย (random) ถึงการสุ่มแบบพิสดาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของเรา (จำนวนกลุ่มตัวอย่าง-ตารางการสุ่มตัวอย่าง มักจะอยู่ในภาคผนวกของตำราวิจัยเชิงปริมาณเกือบทุกเล่ม)

    ในงานวิจัยคุณภาพ มิได้เคร่งครัดกับเรื่องจำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับวิจัยปริมาณ และส่วนใหญ่จะนิยมเรียกว่า กรณีศึกษามากกว่าที่จะเป็นกลุ่มตัวอย่าง

    (วันนี้คงได้เรียนจาก อ.ขวัญจิตโดยละเอียด)

    ชิตชยางค์

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ12/19/2551

    การเลือกกลุ่มตัวอย่างน้น สาระสำคัญคือ ความเป็นตัวแทน (representativeness) ของประชากรที่เราจะศึกษา ในงานวิจัยคุณภาพมีประเด็นที่ต้องคำนึงถึงอีกประการหนึ่งคือ เรื่อง อำนาจในการสร้างข้อสรุปทั่วไป (generalization) การเลือกกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยคุณภาพจึงมักจะเป็นการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เพื่อเป็นกรณีศึกษา ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเพื่อความเป็นตัวแทน หรือลักษณะที่ต่า่ง/เบี่ยงเบนไป ต่างก็มีความสำคัญเหมือนกัน

    ชิตชยางค์

    ตอบลบ